หมวดการคาดการณ์อนาคต
หลักสูตรอนาคตศึกษา (Future Studies)
แนวคิดพื้นฐานของอนาคตศึกษา ความสำคัญของอนาคตศึกษา กระบวนทัศน์เกี่ยวกับอนาคตศึกษา เช่น Reductive กับ Holistic, Probability กับ Possibility, Linear กับ Complex & Chaotic เป็นต้น ลักษณะสำคัญของอนาคตศึกษา หลักการในการศึกษาอนาคต เช่น หลักเหตุผล หลักต่อเนื่อง หลักการอุปมา เป็นต้น ลักษณะของภาพอนาคต ระยะเวลาในการศึกษาภาพอนาคต และกระบวนการในการศึกษาอนาคต
หลักสูตรเครื่องมือคาดการณ์อนาคตเชิงคุณภาพ (Qualitative Forecasting Methods)
กล่าวถึงเทคนิคต่างๆ ที่ใช้ในการคาดการณ์เชิงคุณภาพ เทคนิคแต่ละชนิดมีวัตถุประสงค์ในการฉายภาพอนาคตที่ไม่เหมือนกัน และมีจุดเด่นและข้อจำกัดที่แตกต่างกัน เช่น ผังต้นไม้ (Relevance tree technique) ผังภารกิจ (Mission flow diagram) วงล้ออนาคต (Future wheels) ตะแกรงช่วงเวลา (Time-space grids) บทบทสมมติ (Role playing) ตารางวิเคราะห์ผลกระทบไขว้ (Cross-Impact Matrix) Morphological Matrices เป็นต้น
หลักสูตรเครื่องมือคาดการณ์อนาคตเชิงปริมาณ (Quantitative Forecasting Methods)
เนื้อหาประกอบด้วยการสร้างแบบจำลองเชิงปริมาณ เส้นเวลาของการคาดการณ์ (Forecasting Time Horizons) และวิธีการคาดการณ์แบบต่างๆ เช่น Time series (เช่น extrapolation, smoothing, classical time series, moving average (MA), autoregressive (AR), ARIMA) การวิเคราะห์การถดถอย (Regression Analysis), Simultaneous equation regression, Computer simulation, Game Theory, การตรวจสอบความถูกต้องของการพยากรณ์, การเลือกใช้วิธี/แบบจำลองในการพยาการณ์
เทคนิคการนำเสนอประกอบด้วยการนำเสนอประกอบด้วยการบรรยายและการปฏิบัติการบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ผู้เข้าฝึกอบรมได้ลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง
หลักสูตร Scenario Planning สำหรับองค์กร
หลักสูตรนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการวางแผนองค์กร ภายใต้ภาวะความไม่แน่นอนต่างๆ เพื่อให้องค์กรสามารถเตรียมตัวเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นได้ในอนาคตอย่างเหมาะสม โดยสามารถใช้ประโยชน์สูงสุดจากโอกาสที่จะมาถึง และหลีกเลี่ยงหรือบรรเทาปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น ขั้นตอนการวางแผนเริ่มตั้งแต่การศึกษาทบทวนพันธกิจ ข้อบังคับและค่านิยมหลักขององค์กร การวิเคราะห์สภาพปัจจัยภายในองค์กร และปัจจัยภายนอกหรือปัจจัยขับเคลื่อนสภาพแวดล้อมภายนอก เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการวิเคราะห์ประเด็นท้าทายในอนาคตขององค์กร
หลังจากนั้นจึงทำการวิเคราะห์และคัดเลือกปัจจัยขับเคลื่อนสภาพแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ เพื่อนำสู่การสร้าง scenario ของสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อองค์กร และนำไปวิเคราะห์เพื่อค้นหาทางเลือกยุทธศาสตร์ หลังจากนั้นจึงทำการประเมินทางเลือกยุทธศาสตร์ในด้านต่าง ๆ เพื่อคัดเลือกยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมภายใต้ scenario ต่างๆ