เกี่ยวกับสถาบันฯ

สถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา (Institute of Future Studies for Development) เป็นสถาบันวิจัยเอกชนในรูปแบบมูลนิธิ มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ต่อเนื่องนานกว่า 20 ปี ในเรื่องระเบียบวิธีวิจัย การวิเคราะห์และประเมินผลกระทบโครงการและนโยบาย การสร้างแบบจำลองพฤติกรรม และการคาดการณ์อนาคต (foresight/future studies) ด้วยเครื่องมือเชิงปริมาณและคุณภาพ ทั้งในระดับมหภาคและจุลภาค

สถาบันฯ มีประสบการณ์การศึกษาประเด็นเศรษฐกิจ สังคม และการบริหารให้กับหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ เอกชน ธุรกิจ องค์กรข้ามชาติ ทั้งในและต่างประเทศ โดยผลงานของสถาบันได้ถูกนำไปใช้กำหนดเป็นนโยบาย แผนกลยุทธ์ แผนการดำเนินงานขององค์กร และนโยบายสาธารณะของประเทศ ซึ่งมีส่วนส่งเสริมการพัฒนาองค์กรและประเทศอย่างต่อเนื่อง

สถาบันฯ ได้จดทะเบียนเป็นที่ปรึกษากับศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษาไทย กระทรวงการคลัง เป็นที่ปรึกษาในระดับ เกรด A หมายเลข 1044 ซึ่งมีทีมวิจัยมีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกและปริญญาโท ด้านนโยบายสาธารณะ การบริหารภาครัฐ การบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ และระเบียบวิธีวิทยาการวิจัย

จุดเน้นของสถาบันฯ (Focus)

สถาบันฯ มีจุดเน้นในการทำงานหลักอยู่ 4 ประเด็นได้แก่

  • สหวิทยาการ (Multi-Discipline Oriented) สถาบันฯ เชื่อว่า ในการศึกษาประเด็นใด ๆ ในสังคม จำเป็นต้องใช้มุมมองจากหลากหลายศาสตร์ประกอบกัน เพื่อให้ได้ความเข้าใจที่ครบถ้วนสมบูรณ์ในการวิเคราะห์วิจัยเรื่องนั้น การใช้สหวิทยากรจะช่วยให้ได้มุมมองที่ครอบคลุมศาสตร์หลายแขนง ครบวงจร และสมดุล
  • มองประเด็นอนาคต (Future Oriented) สถาบันฯ เชื่อว่า การวิจัยเรื่องต่าง ๆ โดยเฉพาะในเรื่องของนโยบายและการวางแผน จำเป็นต้องคำนึงถึงมิติอนาคตด้วย โดยเฉพาะในเรื่องของการตัดสินใจเพื่อริเริ่มสร้างโอกาสหรือแก้ไขสิ่งที่เป็นปัญหานั้น เป็นการตัดสินใจในปัจจุบันเพื่อเห็นผลที่พึงประสงค์ในอนาคต การเข้าใจอดีต วิเคราะห์ปัจจุบัน มองสู่อนาคตจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการป้องกันและลดการแก้ปัญหา
  • คำตอบที่เป็นรูปธรรม (Action Oriented) นำไปสู่การปฏิบัติได้จริง
  • ถ่ายทอดออกไปได้ (Communication Oriented) การทำให้ข้อมูลเข้าใจง่ายขึ้นและกระจายไปสู่มหาชนให้กว้างขวางที่สุด

ความเชี่ยวชาญหลัก (Core competency)

  • การวิเคราะห์วิจัยเชิงสหวิทยาการ (multi-disciplinary)
  • การคาดการณ์อนาคต (scenario and forecasting)
  • อนาคตศึกษา (future studies)
  • การพัฒนาแบบจำลองเชิงปริมาณ (modeling and simulation)
  • การพัฒนาดัชนีชี้วัด (indexation)
  • การพัฒนากระบวนการคิด (thinking process)
  • การวางแผนและบริหารเชิงกลยุทธ์ (strategic planning and management)
  • การวิจัยเชิงสำรวจ (survey research)