ผลสำรวจ โพล “การเลือกตั้งผู้บริหารชุดใหม่ของพรรคประชาธิปัตย์

สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับ สถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา (IFD) ปิดเผยผลสํารวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “การเลือกตั้งผู้บริหารชุดใหม่ของพรรคประชาธิปัตย์”

โดยดำเนินการสำรวจในช่วงวันที่ 1-4 ธันวาคม 2566 ในกลุ่มประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป  กระจายใน 6 ภูมิภาค เพศ อายุ อาชีพ และระดับการศึกษาทั่วประเทศ รวมจำนวน 1,216 ตัวอย่าง การสุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มโดยใช้ความน่าจะเป็น ด้วยวิธี Stratified Five-Stage Random Sampling แต่ละตัวอย่างที่ถูกเลือกมีค่าถ่วงน้ำหนัก (sampling weight) ที่แตกต่าง วิธีการสำรวจเป็นแบบผสม โดยลงพื้นที่สำรวจ 50% และสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ 50% ค่าความผิดพลาด (error) ของการสำรวจอยู่ที่ 3%  ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

Report-Poll-ปชป-2023-Dec-6-IFD-up-date-tai

ผลการสำรวจ

  1. ผู้ท้าชิง/แคนดิเดต “หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์” พบว่า ประชาชน ร้อยละ 71.56 ให้ความเห็นว่าผู้ที่เหมาะสมในการดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค คือ นางสาว วทันยา บุนนาค (มาดามเดียร์) และ ร้อยละ 28.44 คือ นาย นราพัฒน์ แก้วทอง 
  2. ผู้ท้าชิง/แคนดิเดต “เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์” พบว่า ประชาชน ร้อยละ 44.52 ให้ความเห็นว่าผู้ที่เหมาะสมในการดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรค คือ นาย ชัยชนะ เดชเดโช  รองลงมาพบว่า ร้อยละ 25.79 คือ นาย เดชอิศม์ ขาวทอง และ ร้อยละ 29.69 ไม่มีความเห็น
  3. จุดเด่น/จุดแข็งของพรรคประชาธิปัตย์  
อันดับร้อยละ
1เป็นพรรคที่จัดตั้งขึ้นมายาวนาน มีความน่าเชื่อถือ อยู่คู่การเมืองไทย  65.58%
2 มีสมาชิกพรรคจำนวนมากกระจายทั่วประเทศ 36.07%
3 มีผู้บริหารพรรค กรรมการพรรค และคนดำเนินงานพรรคที่มีความรู้ความสามารถในการขับเคลื่อนและพัฒนาพรรค 25.29%
4เป็นพรรคที่อยู่ตรงกลาง ระหว่างอนุรักษ์นิยม (รวมไทยสร้างชาติ พลังประชารัฐ ฯลฯ) และเสรีนิยม (เพื่อไทย ก้าวไกล) 23.22%
5เป็นสถาบันทางการเมืองที่มีการบริหารจัดการพรรคอย่างเป็นระบบ22.64%
6ส.ส. เขตพื้นที่ ทำงานเต็มที่ โดนใจประชาชน 14.90%
7เมื่อเป็นรัฐบาลทำได้ตามที่หาเสียง/พูดกับประชาชนไว้  9.18%
8อื่น ๆ ได้แก่ มีประสบการณ์ทำงานการเมือง มีฐานเสียงที่เป็นแฟนพันธุ์แท้ของประชาธิปัตย์อย่างเหนียวแน่น เป็นที่ชื่นชอบของคนในบางพื้นที่ มีนักการเมืองที่เป็นนักพูดปราศรัยเก่งน่าติดตาม ฯลฯ3.13%

    หมายเหตุ รวมคำตอบอันดับที่ 1 และ 2 เข้าด้วยกัน 

  1. สิ่งที่อยากให้พรรคประชาธิปัตย์ปรับเปลี่ยน  
อันดับร้อยละ
1เปิดทางให้คนรุ่นใหม่ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานของพรรคได้มากขึ้น  33.75%
2ให้โอกาสคนรุ่นใหม่นำพรรค/มีอำนาจบริหารจัดการได้อย่างแท้จริง ไม่เป็นหุ่นเชิดของคนบางกลุ่ม33.62%
3มีอุดมการณ์แสดงจุดยืนของพรรคที่ชัดเจน ให้ประชาชนเห็น/สัมผัส/สนใจ เพื่อเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่โดนใจ27.19%
4ออกนโยบายใหม่ ๆ ที่ดีที่มีส่วนพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า  25.61%
5ทำหน้าที่อย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายรัฐบาลก็ได้ เป็นฝ่ายค้านก็ได้  15.24%
6ไม่ทุจริตคอร์รัปชั่น เป็นแบบอย่างพรรคการเมืองสุจริต14.81%
7ทำเพื่อประโยชน์ของประชาชนและประเทศอย่างแท้จริง ไม่ใช่ทำเพื่อพวกพ้องหรือเพื่อนายทุน14.25%
8เปิดทางให้สมาชิกพรรคและประชาชนมีส่วนร่วมและฟังเสียงสมาชิกและประชาชนมากขึ้น   11.12%
9ทำการเมืองอย่างสร้างสรรค์ มุ่งใช้เหตุใช้ผล ไม่ใช้คำพูดรุนแรงส่อเสียดหรือวาทะเชือดเฉือน10.88%
10มีความสามัคคี/ทำงานร่วมกันเป็นหนึ่งเดียว7.64%
11มีภาพลักษณ์ที่ทันสมัย เช่น ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ให้คนรุ่นใหม่มีส่วนร่วม ฯลฯ  5.80%

    หมายเหตุ รวมคำตอบอันดับที่ 1 และ 2 เข้าด้วยกัน

  1. หากพรรคประชาธิปัตย์มีการปรับโฉมแล้ว มีโอกาสที่ท่านจะเลือกประชาธิปัตย์ในการเลือกตั้งครั้งหน้าหรือไม่ พบว่า ประชาชน ร้อยละ 72.05 ตอบว่าไม่แน่ใจ   ร้อยละ 15.36 เลือกอย่างแน่นอน และ 12.59 ไม่เลือกอย่างแน่นอน ตามลำดับ 
  2. ลักษณะทางประชากรและภูมิภาค  
  • เพศ ประชาชน ร้อยละ 48.60 เป็นเพศชาย  ร้อยละ 48.44 เป็นเพศหญิง  ร้อยละ 2.30 เป็นเพศทางเลือก
  • อายุ ประชาชน ร้อยละ 15.79 อายุ 18-25 ปี  ร้อยละ 20.89 อายุ 26-35 ปี  ร้อยละ 23.27 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 23.60 อายุ 46-59 ปี และ ร้อยละ 16.45 อายุ 60 ปีขึ้นไป 
  • อาชีพ ประชาชน ร้อยละ 7.73 เป็นข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 17.68​ เป็นพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน ร้อยละ 26.81 ประกอบธุรกิจส่วนตัว/ค้าขาย ร้อยละ 4.61 ช่วยธุรกิจ/งานครอบครัว ร้อยละ 18.34 รับจ้างทั่วไป  ร้อยละ 11.60 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณ ร้อยละ 7.32 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ  5.35  ว่างงาน (รอสมัครงาน) และ ร้อยละ 0.58 มีอาชีพอื่น ๆ ได้แก่ ทุพพลภาพ ป่วยติดเตียง สมัครใจที่จะว่างงาน       
  • ระดับการศึกษา ประชาชน ร้อยละ 16.94 มีการศึกษาระดับประถม/ต่ำกว่า ร้อยละ 34.54 มัธยม/ปวช. ร้อยละ 29.28 อนุปริญญา/ปวส. ร้อยละ 17.52  ปริญญาตรี  และร้อยละ 1.73 สูงกว่าปริญญาตรี

ภูมิภาค ประชาชน ร้อยละ 14.47 อยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมาณฑล*   ร้อยละ 18.42 อยู่ในภาคเหนือ   ร้อยละ 13.82 อยู่ในภาคใต้  ร้อยละ 13.16 อยู่ในภาคกลางและภาคตะวันตก  ร้อยละ 7.89 อยู่ในภาคตะวันออก  ร้อยละ 32.24 อยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Leave A Reply

Your email address will not be published.